โรคยอดฮิต นิ่วในเต่า พบก่อนรักษาง่ายกว่า

โรคนิ่วในเต่า (Tortoise Bladder Stone)

เป็นที่ทราบกันดีว่าเต่าบกหลากหลายชนิดที่มีการเลี้ยงในบ้านเราล้วนเป็นเต่าที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในพื้นที่ทะเลทรายโดยเฉพาะอย่างยิ่งเต่ายอดฮิตอย่าง เต่าซูคาต้า (African spurred tortoise) ที่มักมีปัญหาของการเกิดนิ่วอยู่บ่อยครั้ง ทำไมน่ะเหรอ… ทุกอย่างมีเหตุผลของมันครับหัวเอียงไม่ใช่เรื่องที่ควรมองข้าม เราที่ โรงพยาบาลสัตว์เพ็ทโซติก ลาดพร้าว-วังหิน มีคำแนะนำเกี่ยวกับการดูแลรักษาโรคนิ่วในเต่าโดยสัตวแพทย์ผู้เชียวชาญทางด้านเต่าโดยเฉพาะ

สาเหตุของโรค

  1.  ระบบการย่อยอาหารของเต่าโดยเฉพาะโปรตีน มีลักษณะเฉพาะคือเมื่อร่างกายมีการย่อยโปรตีนเกิดขึ้น สิ่งที่จะได้มาคือ ammonia ซึ่งมีความเป็นพิษสูงต่อระบบทางเดินอาหาร ร่างกายจึงเปลี่ยน ammonia ตรงนี้ไปเป็นกรดยูริคซึ่งมีความเป็นพิษน้อยกว่า ซึ่งเจ้ากรดนี้ก็จะถูกดูดซึมสู่กระเพาะปัสสาวะเพื่อรอการขับทิ้ง ซึ่งถ้าเต่าอยู่ในสภาวะไม่ขาดน้ำ ก็จะถูกขับออกได้ง่ายๆ แต่….ถ้าเต่ามีภาวะขาดน้ำล่ะ อันนี้แหละที่จะบอกว่าเป็นคุณสมบัติพิเศษของเต่าซุคาต้าคือกระเพาะปัสสาวะของเขาสามารถดูดกลับน้ำไปใช้ได้ในสภาวะที่ร่างกายขาดน้ำหรือต้องการน้ำ ทำให้กระเพาะปัสสาวะแห้งน้ำ ซึ่งเป็นผลตัวกรดยูริกมีการสะสมเกิดขึ้น และการสะสมนี้จะทำให้กรดยูริกไปจับกับพวก แร่ธาตุต่างๆเช่น calcium, magnesium, potassium เป็นต้น จนเกิดเป็นนิ่วในที่สุด
  2. อีกสาเหตุคืออาหารการกินเช่นกินอาหารจำพวกพืชใบเขียวซึ่งมีปริมาณของกรด oxalic (คนล่ะตัวกับ uric acid ครับ) มาก หากเต่าบริโภคไปมากๆสิ่งที่เกิดขึ้นคือเจ้ากรดตัวนี้จะไปจับกับพวก calcium magnesium potassium ในทางเดินอาหาร หากเกิดในเต่าเล็กจะพบได้ว่าเต่ากระดองนิ่ม

การวินิฉัย

ใช้วิธี X-ray จะช่วยให้เห็นภาพนิ่วได้อย่างชัดเจน

อาการของโรค

หากเป็นไม่มาก เต่าจะสามารถเบ่งออกมาเองได้ อาการก็จะไม่รุนแรง แต่ถ้าก้อนใหญ่ สิ่งที่เกิดขึ้นคือก้อนนิ่วจะไปอุดตรงทวารรวมของเต่า เต่าจะขับถ่ายไม่ได้ จะปวดท้องอึดอัดท้อง อาการที่จะแสดงให้เห็นคือ ซึม ไม่กิน มีน้ำมูก ไม่อึมาหลายวัน ไม่ค่อยเดิน ถ้าเบ่งมากๆจะมีอาการตาบวมเนื่องจากเยื่อตาปลิ้น

แนวทางการรักษา

  1. จะต้องจับแช่น้ำทุกๆวัน
  2. ฉีดยาลดปวด
  3. สวนทวารด้วยน้ำอุ่นและสารหล่อลื่น
  4. ถ้านิ่วเคลื่อนตัวมาที่เชิงกราน (ตอบได้ด้วยการ x-ray) ก็ต้องทำการเลาะและค่อยดึงออกมาครับ

การป้องกัน

  • แช่น้ำเต่าเป็นประจำทุกวัน หรือถ้าเต่าใหญ่ควรมีถาดน้ำไว้สำหรับเขา
  • อย่าเลี้ยงที่ร้อนจัดเกินไป เป็นเต่าทะเลทราย แต่ชอบอากาศที่อบอุ่น สบาย ไม่ร้อน มีร่ม อากาศถ่ายเทสะดวก
  • เลี้ยงด้วยอาหารที่เหมาะสมกับสายพันธุ์ ปริมาณโปรตีนที่เหมาะสม


สำหรับท่านที่ไม่มั่นใจว่าเต่าจะเริ่มมีนิ่วหรือป่าว สามารถเข้ามา X-ray เพื่อดูก้อนนิ้วได้ที่ line @petxotic

โรงพยาบาลสัตว์เพ็ทโซติก ลาดพร้าว-วังหิน

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *